top of page

การสวดมนต์มีความหมายอย่างไร
https://kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=5435

     การสวดมนต์ในพระพุทธศาสนามีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล เป็นการสวดในสิ่งที่พระพุทธเจ้าได้ทรงสอนไว้เพื่อไม่ให้ลืมในคำสอนนั้นๆ และทบทวนในสิ่งที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ดีแล้ว เพราะในครั้งพุทธกาลยังไม่มีพระไตรปิฏก จึงต้องใช้การท่องจำ หลังพุทธปรินิพพานมีการสังคายนาพระไตรปิฏกครั้งที่ 1 ก็ยังใช้การท่องจำสืบทอดต่อกันมา เรียกว่า "มุขปาฐะ"(หมายถึง การท่องด้วยปาก การกล่าวด้วยปาก การจดจำต่อเนื่องกันมาด้วยการสอนแบบปากต่อปาก) ดังนั้น จึงมีการคัดเอาคำสอนที่สำคัญมาสวดสาธยายกันอย่างเนืองนิตย์ คำสอนสำคัญเหล่านี้จึงกลายเป็นบทสวดมนต์ในที่สุด  ในบางคราวพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงอาพาธได้มีพระภิกษุมาสาธยายพุทธมนต์ให้พระพุทธองค์ฟัง เช่น บทโพชฌงค์ 7 ทำให้พระองค์อาการอาพาธทุเลาลง ฉะนั้นบทสวดมนต์จึงมีอานุภาพมาก  นับแต่นั้นมาทั้งพระภิกษุและฆราวาสก็สวดมนต์เรื่อยมาเพื่อเป็นการทบทวนคำสอนของพระพุทธเจ้า

Buddha Statue
ความหมาย
Novice Monks Praying

การสวดมนต์ควรสวดทุกวันหรือไม่ เป็นหน้าที่ที่เราต้องปฏิบัติหรือเป็นหน้าที่ของพระสงฆ์

https://kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=5435

หน้าที่

     การสวดมนต์เป็นหน้าที่ของชาวพุทธทุกคน ทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น เดิมแล้วเนื้อหาแต่ละท้องถิ่นมีหลากหลาย ระลึกนึกถึงพระรัตนตรัยหรือสวดมนต์ในบทที่แตกต่างกันไป ก่อนที่รัชกาลที่ 4 ขึ้นครองราชย์พระองค์ทรงออกผนวชอยู่ 20 กว่าพรรษาและมีพระปัญญามาก พระองค์จึงวางรูปแบบการทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็นทั้งประเทศให้เป็นแบบแผนเดียวกัน รูปแบบการสวดมนต์ การอาราธนาศีล พิธีกรรมสงฆ์ต่างๆ เช่น การถวายสังฆทาน การเจริญพระพุทธมนต์ สวด 7 ตำนาน 12 ตำนาน เป็นต้น ก็ปรับเป็นมาตรฐานเดียวกันทั้งหมด ซึ่งเป็นประโยชน์ต่อความเป็นเอกภาพของพระพุทธศาสนา เพราะฉะนั้นให้รู้ว่า มิใช่หน้าที่ของพระภิกษุเท่านั้น ชาวพุทธทุกคนอย่างน้อยทำวัตรเช้า ทำวัตรเย็น ใช้เวลาไม่มากและเป็นประโยชน์ต่อเรา

ไม่เข้าใจ

การสวดมนต์แบบเข้าใจความหมายกับไม่เข้าใจความหมาย อานิสงฆ์ที่ได้แตกต่างกันหรือไม่ และจะช่วยกันสืบต่อวัฒนธรรมนี้ต่อไปอย่างไร

https://kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=5435

ojnsmjizzDBEvQZd22M-o.jpg

          ภาษาบาลี มี สระ คือ อะ อา อิ อี อุ อู เอ โอ แค่ 8 ตัว ไม่เยอะเหมือนภาษาไทย เพราะฉะนั้นเวลาผสมเสียงออกมาจากในตัวได้ดี เพราะฉะนั้นเราสวดมนต์แม้จะไม่รู้ความหมายก็มีประโยชน์ รู้โดยรวมว่าเป็นการสวดสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย สวดเพื่อตอกย้ำความเลื่อมใสศรัทธาในพระรัตนตรัย ซึ่งเป็นประโยชน์มาก การมีศรัทธาเป็นยอดทรัพย์ เมื่อมีศรัทธาในพระรัตนตรัยจะทำให้เรามีโอกาสสร้างบุญกุศลอื่นๆ อีกมากมาย  เหมือนดังในอดีตมีพระภิกษุท่านสาธยายพุทธมนต์ มีค้างคาวฟังอยู่แต่ค้างคาวไม่รู้เรื่องว่าพระสวดอะไร แต่ฟังภาษาบาลีฟังแล้วสบายใจเลื่อมใสในเสียงสวดมนต์ที่ไม่รู้แม้แต่น้อย จดจ่อกับเสียงสวดมนต์เมื่อตายได้ไปเกิดเป็นเทวดา จากสัตว์เดรัจฉานไม่ได้เกิดเป็นคนแต่ไปเป็นเทวดา

          เพราะฉะนั้นแค่การฟังเสียงสวดมนต์โดยไม่รู้ความหมายแท้จริงยังมีบุญขนาดนี้ แต่เราเป็นคนรู้เรื่องมากกว่าค้างคาว รู้ว่ากำลังสรรเสริญพระรัตนตรัยอยู่ ยิ่งถ้าได้สวดมนต์เองยิ่งกว่าการฟังบุญยิ่งเกิด และควรหาเวลาสวด หนังสือสวดมนต์มีคำแปลบอกแต่ไม่ต้องสวดบาลีคำไทยคำเพราะระบบไวยากรณ์ จะทำให้มีสมาธิ(Meditation) มากกว่าหลังจากสวดเป็นภาษาบาลีจึงมาดูคำแปลทีหลังจะดีกว่า การสวดมนต์ถือเป็นการภาวนาอย่างหนึ่ง เราสวดมนต์ไปทำสมาธิไปด้วย ถ้าตั้งใจจริงสามารถบรรลุธรรมได้ใจจดจ่อนิ่งทำให้เข้าถึงธรรมได้ แต่ถ้ายังไม่บรรลุธรรมการสวดมนต์ช่วยเคลียร์ใจให้นิ่งระดับหนึ่ง เป็นพื้นฐานอย่างดีต่อการทำสมาธิ

          เพราะฉะนั้น โดยทั่วไปจะสวดมนต์ก่อนการนั่งสมาธิ ใจก็สบายถึงเวลานั่งสมาธิจึงนั่งได้ดี การสวดมนต์ให้ประโยชน์ทุกสถานแม้ไม่รู้ความหมายฟังสวดมนต์ก็ได้บุญ สวดมนต์เองบุญยิ่งเยอะ รู้ความหมายด้วยบุญยิ่งทับทวี รู้ความหมายด้วยทำสมาธิไปด้วยบุญมหาศาลถูกต้องตามหลักวิชา 

ที่มา นะโม

ที่มาของการกล่าว นะโม 3 จบ

https://kalyanamitra.org/th/article_detail.php?i=5435

st239.png

    หลายท่านคงสงสัยว่า ทำไมต้องกล่าวบทคำบูชาพระพุทธเจ้านี้ก่อนว่าคาถา (โบราณเรียกตั้งนะโม ๓ จบ) หรือนำหน้าบทสวดมนต์ต่างๆ ตลอดด้วย ที่มาของคำบูชาพระบรมศาสดานี้ มีเรื่องเล่าว่า ณ แดนหิมวันต์ประเทศ มีเทือกเขาชื่อว่า สาตาคิรี เป็นที่ร่มรื่น รมณียสถาน เป็นที่อยู่ของพวกยักษ์ที่เป็นภุมเทพยดา อันมีนามตามที่อยู่ว่า สาตาคิรียักษ์ มีหน้าที่เฝ้าทางเข้าหิมวันต์ ทางทิศเหนือ เป็นบริวารของท้าวเวสสุวัณ สาตาคิรียักษ์ได้มีโอกาสสดับ พระสัทธรรมจากพระบรมศาสดา จนมีจิตเลื่อมใสศรัทธา เปล่งคำยกย่องบูชาด้วยคำว่า "นะโม" หมายถึง พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นใหญ่กว่า มนุษย์ เทพยดา พราหมณ์ มาร ยักษ์ และสัตว์ทั้งปวง

   กล่าวฝ่าย อสุรินทราหู เมื่อได้สดับพระเกียรติศัพท์ ของพระบรมศาสดา ก็มีจิตปรารถนาที่จะได้ฟังธรรมของพระบรมศาสดาบ้าง แต่ด้วยกายของตนใหญ่โตเท่ากับโลก จึงคิดดูแคลนพระบรมศาสดาว่า มีพระวรกายเล็กดังมด จึงอดใจรั้งรออยู่ พอนานวันเข้าพระเกียรติคุณของพระผู้มีพระภาคเจ้า ก็ยิ่งขจรขจายไปทั้งสามโลก จนทำให้อสุรินทราหูอดรนทนอยู่มิได้ จึงเหาะมาในอากาศตั้งใจว่าจะร่ายเวทย่อกาย เพื่อเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคเจ้าขอฟังธรรม แต่พอมาถึงที่ประทับ อสุรินทราหู กลับต้องแหงนหน้าคอตั้งบ่า เพื่อจะได้ทัศนาพระพักตร์พระบรมศาสดา พระผู้มีพระภาคจึงทรงแสดงพระสัทธรรม ชำระจิตอันหยาบกระด้างของ อสุรินทราหู ให้มีความเลื่อมใสศรัทธา แสดงตนเป็นอุบาสกผู้ถือพระรัตนตรัยตลอดชีวิต แล้วกล่าวสรรเสริญพระบรมศาสดาว่า “ตัสสะ” แปลว่า ขอบูชา ขอนอบน้อม ขอนมัสการ

    เมื่อครั้งที่ท้าวจาตุมหาราช ทั้ง ๔ ผู้ดูแลปกครองสวรรค์ชั้นแรก มีชื่อเรียกว่า ชั้นกามาวจร มีหน้าที่ปกครองดูแลประตูสวรรค์ทั้ง ๔ ทิศ พร้อมบริวาร ได้พากันเข้ามาเฝ้าพระบรมศาสดาแล้วทูลถามปัญหา พระบรมศาสดาทรงแสดงธรรมตอบปัญหาแก่มหาราชทั้งสี่พร้อมบริวาร จนยังให้เกิดธรรมจักษุแก่มหาราชทั้งสี่ และบริวารท่านทั้ง ๔ นั้น จึงเปล่งคำบูชาสาธุขึ้นว่า “ภะคะวะโต” แปลว่า พระผู้มีพระภาค ทรงเป็นผู้จำแนกธรรมอันยิ่ง อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า
    "อะระหะโต" เป็นคำกล่าวสรรเสริญของ ท้าวสักกะเทวราช เจ้าสวรรค์ทั้ง ๖ ชั้น ท่านสถิตอยู่ ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ท้าวสักกะเทวราช ได้ทูลถามปัญหาแด่พระผู้มีพระภาค พระพุทธองค์ทรงตรัสปริยายธรรม และทรงตอบปัญหา จนทำให้ท้าวสักกะเทวราชได้ดวงตาเห็นธรรมบรรลุเป็นพระโสดาปัตติผล จึงเปล่งอุทานคำบูชาขึ้นว่า "อะระหะโต" แปลเป็นใจความว่า อรหันต์ เป็นผู้ไกลจากกิเลส ไกลจากเครื่องข้องทั้งปวง
    "สัมมาสัมพุทธัสสะ" เป็นคำกล่าวยกย่องสรรเสริญของ ท้าวมหาพรหม หลังจากได้ฟังธรรม จนบังเกิดธรรมจักษุ จึงเปล่งคำสาธุการ "สัมมาสัมพุทธัสสะ" หมายถึง ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ด้วยพระองค์เอง ทรงรู้ดี รู้จริง รู้ยิ่ง กว่าผู้รู้อื่นใด

รวมเป็นบทเดียวว่า "นะโม ตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมาสัมพุทธัสสะ" แปลโดยรวมว่า ขอนอบน้อมแด่ พระผู้มีพระภาค อรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า พระองค์นั้น (3 ครั้ง) ด้วยเหตุนี้โบราณท่านจึงว่า หากขึ้นต้นคาถาหรือบทสวดมนต์ใดๆด้วยการตั้งนะโม ๓ จบ คาถานั้นจะมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งนักด้วย เพราะเป็นคำสรรเสริญพระพุทธเจ้าที่มีเทพพรหมชั้นหัวหน้าได้กล่าวไว้ แรงครูหรือแรงแห่งเทพ-พรหม และแรงพระรัตนตรัยท่านจึงประสิทธิ์ให้สมประสงค์

อานิสงส์

อานิสงส์การสวดมนต์ 15 ประการ

https://pantip.com/topic/36003474

ผู้ที่สวดมนต์ด้วยความตั้งใจจริงแล้ว ย่อมได้รับอานิสงส์ คือผลความดี มากมายดังต่อไปนี้
1. ทำให้สุขภาพดี การสวดมนต์ออกเสียง ช่วยให้ปอดได้ทำงาน เมื่อปอดทำงาน เลือดลมก็เดินสะดวก เมื่อเลือดลมเดินสะดวก ร่างกายก็สดชื่น กระปรี้กระเปร่า และกรฉับกระเฉง
2. คลายความเครียด ขณะสวดมนต์จิตจดจ่ออยู่กับบทสวด สมองไม่ได้คิดในเรื่องที่ทำให้เครียด จึงทำให้อารมณ์ผ่อนคลาย
3. เพิ่มพูนศรัทธาในพระรัตนตรัย บทสวดแต่ละบทเป็นการระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัย เมื่อสวดบ่อย จิตก็จะยิ่งแนบแน่นอยู่กับพระรัตนตรัย
4. ขันติบารมีย่อมเพิ่มพูน ขณะสวดต้องใช้ความอดทนเพื่อเอาชนะอาการปวดเมื่อยที่เกิดขึ้นกับร่างกาย ตลอดถึงอารมณ์ฝ่ายต่ำทั้งหลายมีความเกียจคร้าน เป็นต้น ยิ่งสวดบ่อย ความอดทนก็จะมีมากยิ่งขึ้น
5. จิตสงบตั้งมั่นเป็นสมาธิ ขณะสวดจิตจดจ่ออยู่กับบทสวด ไม่วอกแวกฟุ้งซ่านไปที่อื่น จึงทำให้จิตสงบและเกิดสมาธิมั่นคง
6. บุญบารมีเพิ่มพูน ในขณะสวดมนต์ จิตใจย่อมปราศจากกิเลส มีความโลภ ความโกรธ ความหลง เป็นต้น จึงได้ชื่อว่าเกิดบุญบารมี บุญบารมีนี้ เมื่อสั่งสมมากเข้าก็จะเป็นทุนสนับสนุนให้บรรลุผลตามที่เราต้องการ
7. จิตใจอ่อนโยนมีเมตตา การแผ่เมตตาหลังจากสวดมนต์ เป็นการส่งความปรารถนาดีไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลาย ลดละความเห็นแก่ตัว เป็นอุบายกำจัดความโกรธในใจให้เบาบางและลดน้อยลง ทำให้จิตใจปราศจากความโกรธ และพบแต่ความสุข
8. เกิดความเป็นสิริมงคล การสวดมนต์เป็นการทำความดีไปพร้อมกันทั้งทางกาย วาจา ใจ การทำดี พูดดี คิดดี ย่อมเป็นสิริมงคลแก่ตัวเอง
9. เทวดารักษา ผู้ที่ประกอบกรรมดี ทางกาย วาจา ใจ ย่อมเป็นที่รักของเหล่าเทวดา และการที่เราได้แผ่เมตตาให้แก่เทวดานั้น ก็ยิ่งจะเป็นที่รักของเทวดามากขึ้น
10. ปัญญาเกิด การสวดมนต์พร้อมคำแปล ทำให้ได้รู้และเข้าใจถึงความหมายของบทสวดนั้น
11. ผิวพรรณผ่องใสและมีเสน่ห์ การสวดมนต์ทำให้จิตใจของผู้สวดสดชื่นเบิกบาน จิตที่สดชื่นเบิกบานย่อมส่งผลให้ผิวพรรณดี หน้าตายิ้มแย้ม แจ่มใส ทำให้ผู้ที่พบเห็นเกิดความรู้สึกเป็นมิตร รักใคร่เอ็นดู
12. ศัตรูกลายเป็นมิตร ผู้เป็นมิตรยิ่งรักใคร่
13. ทำให้แคล้วคลาดปลอดภัยจากภยันตรายทั้งปวง
14. ทำให้ดวงดี แก้ไขเคราะห์ร้าย ปัดเป่าเสนียด เพราะดวงชะตาของคนเราขึ้นอยู่กับการกระทำ ใครทำดี ดวงชะตาย่อมดี ใครทำชั่ว ดวงชะตาก็ตก การสวดมนต์เป็นการทำดีที่สามารถเปลี่ยนดวงชะตาให้ดีขึ้นได้
15. ครอบครัวและสังคมสงบสุข ที่พ่อบ้าน แม่บ้าน สวดมนต์อยู่เป็นประจำ และสอนให้บุตรหลานได้สวดมนต์ จะไม่มีการทะเลาะเบาะแว้ง และการที่จะไปสร้างความเดือดร้อนแก่ผู้อื่นก็ไม่มี มีแต่จะทำให้คนรอบข้างและสังคมอยู่เป็นสุข สงบ ร่มเย็น และยังเป็นตัวอย่างที่ดีแก่ผู้อื่นอีกด้วย

©2019 by มูลนิธิอุทยานธรรม

bottom of page